กิจกรรมรับพระราชทานพระไตรปิฎก ฉบับสัชฌายะ
วันเสาร์ที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๑ มูลนิธิ ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวรานุสรณ์ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ได้ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดลจัดงานรับมอบพระไตรปิฎกสากลชุด ภ.ป.ร. และส.ก. ซึ่งเป็นชุดพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร โดยมีท่านผู้หญิง วราพร ปราโมช ณ อยุธยาเป็นประธานเปิดงาน
ในการนี้ คณะผู้รับมอบพระไตรปิฎก ได้จัดงานอภิปรายทางวิชาการถึงความสำคัญของพระไตรปิฎกชุดนี้ ประกอบไปด้วย พันเอก (พิเศษ) สุรธัช บุนนาค และรศ.ดร.จำนง คันธิกเป็นวิทยากร โดยมีผศ.ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ เลขาธิการมูลนิธิ ๑๐๐ พระชันษาฯ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย
คณะกรรมการมูลนิธิฯ รู้สึกทราบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงพระราชทานพระไตรปิฎกสากลชุดนี้
ท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยาประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกกล่าวต่อผู้มาร่วมงานว่า “ในนามมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ขอน้อมถวายอนุโมทนาสาธุการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ชุด ส.ก. แก่มูลนิธิ ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวราณุสรณ์ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ในครั้งนี้ และขอแสดงความยินดีที่ มูลนิธิ๑๐๐ พระชันษาฯ ได้ริเริ่มการศึกษาพระไตรปิฎกเสียงสัชฌายะ ในทางวิชาการในวาระของการประดิษฐานในวันนี้ ในฐานะที่มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลเป็นผู้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกชุด ภ.ป.ร. และ ส.ก. ชุดนี้ ขอกล่าวความเป็นมาสั้นๆ ๔ ประการ ดังต่อไปนี้:
๑. ฉบับสัชฌายะจัดพิมพ์ในโครงการพระไตรปิฎกสากล ซึ่งถือกำเนิดจากพระบัญชาในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ผู้ที่ทรงเห็นความสำคัญของการจัดพิมพ์ฉบับสากล เป็นอักษรโรมัน ก็ด้วยเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ พระองค์นี้ ทรงเป็นผู้แทนคณะสงฆ์ไทยไปร่วมประชุมสังคายนาในระดับนานาชาติ ณ กรุงย่างกุ้ง พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ที่แทบจะไม่มีผู้ใดรู้กันในปัจจุบัน ดังนั้นการที่มูลนิธิ ๑๐๐ พระชันษาฯ ซึ่งอยู่ในพระสังฆราชูปถัมภ์ในเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ ซึ่งได้ร่วมสืบทอดผลงานตามพระบัญชาในวันนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
๒. ฉบับสัชฌายะ หรือ พระไตรปิฎกเพื่อการออกเสียงชุดนี้ เป็นการดำเนินตามหลักการออกเสียงในพระวินัยปิฎก ที่เรียกว่า พยัญชนะกุสะละ ๑๐ ประการ ดังนั้น การออกเสียงสัชฌายะจึงมิใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการมุ่งเน้นการออกเสียงตามหลักไวยากรณ์ที่เป็นสากล ปัจจุบันพิสูจน์ได้ด้วยอักขรวิธีสยามปาฬิ ในพระไตรปิฎกฉบับ จ.ป.ร. พุทธศักราช ๒๔๓๖
๓. ฉบับสัชฌายะ เป็นผลงานทางสหวิชาการที่บูรณาการต่อยอดจากการพิมพ์พระไตรปิฎกชุดอักษรต่างๆ โดยสร้าง สรรค์เป็นชุดโน้ตเสียงปาฬิ ซึ่งสามารถแสดงจังหวะ และการออกเสียงปาฬิได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ตลอดจนมุ่งเน้นการ ออกเสียงในพระไตรปิฎกโดยไม่มีเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำ
๔. ฉบับสัชฌายะ เป็นผลงานในทางวิชาการและเทคโนโลยีทางเสียง จัดทำเพื่อให้สามารถเขียนและบันทึกเสียงสังคายนา ในระบบดิจิทัลให้แม่นตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ต่างจากการสวดมนต์ในอดีต ซึ่งมุ่งหวังการออกเสียงเร็วโดยไม่คำนึงถึงเสียงละหุ และเสียงคะรุ หรือที่เรียกกันว่า ออกเสียงสวดตามประเพณี หรือ Traditional Chanting โดยสัชฌายะ มุ่งเน้นเสียงละหุและเสียงคะรุ เรียกว่า International Sajjhāya Recitation ซึ่งเป็นการออกเสียงสากล
ในวโรกาสคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พุทธศักราช ๒๕๖๑ ขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนานและขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดงานฉลองพระราชศรัทธา ที่ได้พระราชทานภาพพระนามาภิไธย ส.ก. เพื่อตีพิมพ์บนพระไตรปิฎกโน้ตเสียงปาฬิ ชุด ส.ก. ชุดนี้ ในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ ขอเปิดงานการประดิษฐานพระไตรปิฎกสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. ชุด ส.ก. ณ บัดนี้”
ในการนี้ คณะผู้รับมอบพระไตรปิฎก ได้จัดงานอภิปรายทางวิชาการถึงความสำคัญของพระไตรปิฎกชุดนี้ ประกอบไปด้วย พันเอก (พิเศษ) สุรธัช บุนนาค และรศ.ดร.จำนง คันธิกเป็นวิทยากร โดยมีผศ.ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ เลขาธิการมูลนิธิ ๑๐๐ พระชันษาฯ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย
คณะกรรมการมูลนิธิฯ รู้สึกทราบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงพระราชทานพระไตรปิฎกสากลชุดนี้
ท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยาประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกกล่าวต่อผู้มาร่วมงานว่า “ในนามมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ขอน้อมถวายอนุโมทนาสาธุการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ชุด ส.ก. แก่มูลนิธิ ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวราณุสรณ์ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ในครั้งนี้ และขอแสดงความยินดีที่ มูลนิธิ๑๐๐ พระชันษาฯ ได้ริเริ่มการศึกษาพระไตรปิฎกเสียงสัชฌายะ ในทางวิชาการในวาระของการประดิษฐานในวันนี้ ในฐานะที่มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลเป็นผู้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกชุด ภ.ป.ร. และ ส.ก. ชุดนี้ ขอกล่าวความเป็นมาสั้นๆ ๔ ประการ ดังต่อไปนี้:
๑. ฉบับสัชฌายะจัดพิมพ์ในโครงการพระไตรปิฎกสากล ซึ่งถือกำเนิดจากพระบัญชาในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ผู้ที่ทรงเห็นความสำคัญของการจัดพิมพ์ฉบับสากล เป็นอักษรโรมัน ก็ด้วยเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ พระองค์นี้ ทรงเป็นผู้แทนคณะสงฆ์ไทยไปร่วมประชุมสังคายนาในระดับนานาชาติ ณ กรุงย่างกุ้ง พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ที่แทบจะไม่มีผู้ใดรู้กันในปัจจุบัน ดังนั้นการที่มูลนิธิ ๑๐๐ พระชันษาฯ ซึ่งอยู่ในพระสังฆราชูปถัมภ์ในเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ ซึ่งได้ร่วมสืบทอดผลงานตามพระบัญชาในวันนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
๒. ฉบับสัชฌายะ หรือ พระไตรปิฎกเพื่อการออกเสียงชุดนี้ เป็นการดำเนินตามหลักการออกเสียงในพระวินัยปิฎก ที่เรียกว่า พยัญชนะกุสะละ ๑๐ ประการ ดังนั้น การออกเสียงสัชฌายะจึงมิใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการมุ่งเน้นการออกเสียงตามหลักไวยากรณ์ที่เป็นสากล ปัจจุบันพิสูจน์ได้ด้วยอักขรวิธีสยามปาฬิ ในพระไตรปิฎกฉบับ จ.ป.ร. พุทธศักราช ๒๔๓๖
๓. ฉบับสัชฌายะ เป็นผลงานทางสหวิชาการที่บูรณาการต่อยอดจากการพิมพ์พระไตรปิฎกชุดอักษรต่างๆ โดยสร้าง สรรค์เป็นชุดโน้ตเสียงปาฬิ ซึ่งสามารถแสดงจังหวะ และการออกเสียงปาฬิได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ตลอดจนมุ่งเน้นการ ออกเสียงในพระไตรปิฎกโดยไม่มีเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำ
๔. ฉบับสัชฌายะ เป็นผลงานในทางวิชาการและเทคโนโลยีทางเสียง จัดทำเพื่อให้สามารถเขียนและบันทึกเสียงสังคายนา ในระบบดิจิทัลให้แม่นตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ต่างจากการสวดมนต์ในอดีต ซึ่งมุ่งหวังการออกเสียงเร็วโดยไม่คำนึงถึงเสียงละหุ และเสียงคะรุ หรือที่เรียกกันว่า ออกเสียงสวดตามประเพณี หรือ Traditional Chanting โดยสัชฌายะ มุ่งเน้นเสียงละหุและเสียงคะรุ เรียกว่า International Sajjhāya Recitation ซึ่งเป็นการออกเสียงสากล
ในวโรกาสคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พุทธศักราช ๒๕๖๑ ขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนานและขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดงานฉลองพระราชศรัทธา ที่ได้พระราชทานภาพพระนามาภิไธย ส.ก. เพื่อตีพิมพ์บนพระไตรปิฎกโน้ตเสียงปาฬิ ชุด ส.ก. ชุดนี้ ในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ ขอเปิดงานการประดิษฐานพระไตรปิฎกสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. ชุด ส.ก. ณ บัดนี้”